มัดรวม Reef-Safe Sunscreen เลือกใช้ครีมกันแดดไม่ทำร้ายปะการังดียังไง

คนรักผิวทุกคนน่าจะเคยได้ยินเรื่อง “สารเคมีจากครีมกันแดดทำร้ายปะการัง” เพราะครีมกันแดดเป็นไอเทมดูแลผิวอันดับต้น ๆ ที่พวกเราละเลยไม่ได้ ดังนั้น การเลือกใช้ครีมกันแดดให้เข้ากับเทรนด์เรื่องความยั่งยืนของโลกยุคใหม่ ที่ผู้บริโภคต้องใส่ใจธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มากขึ้น เราจึงควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ครีมกันแดดกลุ่ม Reef-Safe Sunscreen ซึ่งปราศจากสารเคมีทำร้ายปะการัง เพื่อช่วยกันหยุดนำสารเคมีทำร้ายปะการังทั้งหลายเข้ามาในอุตสาหกรรมครีมกันแดด นับตั้งแต่ต้นทางของกระบวนการผลิต ความใส่ใจในเรื่องนี้ดียังไง วันนี้ ALL ABOUT YOU จะมาเล่าให้ฟังกันค่ะ

ปะการังฟอกขาว คืออะไร

ปะการัง เป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศทางทะเลที่สำคัญมากต่อสิ่งมีชีวิตในท้องทะเล เพราะปะการังทำหน้าที่เสมือนบ้าน แหล่งอาหาร และแหล่งอนุบาลของสัตว์ทะเลหลากหลายชนิด หากปะการังตายหรือสูญพันธุ์ ไม่เพียงสมดุลทางธรรมชาติจะถูกทำลายเท่านั้น แต่สัตว์น้ำมากมายอาจมีโอกาสสูญพันธุ์ตามไปด้วย และหนึ่งในสาเหตุที่อาจนำมาสู่การสูญพันธุ์ของปะการัง คือ “ปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว” (Coral Bleaching)

ตามภาวะปกติ ปะการังจะมีความสัมพันธ์ทางระบบนิเวศและวงจรชีวิตแบบพึ่งพาอาศัยกัน (Mutualism) ร่วมกับสาหร่ายซูแซนเทลลี (zooxanthellae) สาหร่ายชนิดนี้จะเกาะอยู่กับเนื้อเยื่อปะการัง ทำหน้าที่สังเคราะห์แสง และให้ธาตุอาหารแก่ปะการัง ช่วยให้ปะการังดำรงชีวิตและเติบโตได้ นอกจากนี้สีสันต่าง ๆ ของปะการังล้วนมาจากสาหร่ายซูแซนเทลลีทั้งสิ้น ขณะเดียวกันสาหร่ายก็จะนำของเสียที่เกิดจากปะการัง อย่างคาร์บอนไดออกไซด์และฟอสเฟต มาใช้ในกระบวนการสร้างอาหารให้ตัวเองเช่นกัน 

ดังนั้น ถ้าน้ำทะเลเกิดภาวะไม่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของสาหร่ายซูแซนเทลลี เช่น มีสารเคมีปนเปื้อน มีมลพิษมาก อุณหภูมิของน้ำสูงผิดปกติ ฯลฯ จะเป็นตัวกระตุ้นให้สาหร่ายซูแซนเทลลีคลายตัวและหลุดออกจากเนื้อเยื่อปะการัง ทำให้ปะการังกลายเป็นสีขาว ซึ่งเป็นสีเนื้อเยื่อดั้งเดิมที่ไม่มีสาหร่ายคอยมอบสีสันให้ เรียกกันว่า “ปะการังฟอกขาว” หลังเกิดสภาวะปะการังฟอกขาว ปะการังจะยังมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ประมาณ 2-3 สัปดาห์ หรืออาจนานถึง 3 เดือน ต้องรอจนกว่าสาหร่ายซูแซนเทลลีจะกลับมาอาศัยอยู่ร่วมกัน จึงจะเข้าสู่ภาวะปกติ แต่ถ้าสภาวะปะการังฟอกขาวทิ้งช่วงนานกว่านั้น ปะการังก็จะตายในที่สุด

reef-safe sunscreen

ทะเลปนเปื้อนสารเคมีทำร้ายปะการังได้ยังไง

มีข้อมูลวิจัยพบว่า ในแต่ละปีจะมีปริมาณครีมกันแดดกว่า 14,000 ตัน ถูกชะล้างลงสู่แนวปะการังในท้องทะเล และมี 10% ของปะการังทั่วโลกได้รับผลกระทับจากสารเคมีจากกันแดด เพราะปริมาณสารเคมีที่อันตรายต่อปะการังแม้เพียงน้อยนิด ก็สามารถส่งผลต่อสภาวะปะการังฟอกขาวได้แล้ว 

หลายคนยังเข้าใจว่า การทาครีมกันแดดที่มีสารเคมีทำร้ายปะการังลงเล่นน้ำทะเลโดยตรง เป็นเพียงสาเหตุเดียวที่นำไปสู่ปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว แต่จริง ๆ แล้วสารเคมีจากกันแดดสามารถปนเปื้อนลงสู่ทะเลได้ง่ายกว่านั้นมาก เช่น ทุกวันที่เราอาบน้ำชำระคราบครีมกันแดด สารปนเปื้อนก็จะไหลไปกับท่อระบายน้ำลงสู่ทะเลได้ หรือการสนับสนุนครีมกันแดดที่มีส่วนผสมของสารเคมีทำร้ายปะการัง เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการผลิต โรงงานผลิตอาจถ่ายเทของเสียลงสู่แหล่งน้ำได้ด้วย ซึ่งปริมาณสารอันตรายอาจมากกว่าที่เราทาอยู่บนร่างกายด้วยซ้ำ เป็นต้น นั่นเลยเป็นเหตุผลว่า การเลือกใช้ครีมกันแดดกลุ่ม Reef-Safe Sunscreen จึงเป็นทางเลือกที่เราทุกคนจะได้มีส่วนร่วมดูแลวงจรชีวิตปะการังกันตั้งแต่ต้นทางนั่นเอง

reef-safe sunscreen

4 สารเคมีในครีมกันแดด ทำร้ายปะการังยังไง

เมื่อปี พ.ศ.2564 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้ประกาศห้ามไม่ให้นำครีมกันแดดที่มีสารประกอบอันตรายต่อปะการัง 4 ชนิด เข้ามาในเขตอุทยานแห่งชาติ ได้แก่ Oxybenzone, Octinoxate, 4-Methylbenzylid Camphor และ Butylparaben หากฝ่าฝืนถือว่ามีความผิดตามกฏหมาย เนื่องจากมีงานวิจัยพบว่า สารเคมีทั้ง 4 ชนิดที่นิยมใช้ในครีมกันแดดทั่วโลกกว่า 3,500 แบรนด์ มีส่วนทำให้วัฏจักรของปะการังเสื่อมโทรมลง และเสี่ยงสูญพันธุ์ เราจึงควรหลีกเลี่ยงการใช้งาน 

1. Oxybenzone (Benzophenone-3, BP-3) สารตัวนี้มีผลกระทบมากที่สุด เพราะทำลายระบบสืบพันธุ์ ทำร้ายตัวอ่อนปะการัง ทำให้ปะการังไม่เติบโต พิการ หรือตายได้

2. Octinoxate (Ethylhexyl methoxycinnamate) สารชนิดนี้มีส่วนทำลายสมดุลระหว่างปะการังและสาหร่ายซูแซนเทลลี กระตุ้นให้สาหร่ายผลักออกจากเนื้อเยื่อปะการัง นำไปสู่สภาวะปะการังฟอกขาว

3. 4-Methylbenzylidene Camphor (4MBC) ทำให้น้ำทะเลปนเปื้อนสะสมมากขึ้น ทำลายระบบนิเวศทางทะเลของปะการัง 

4. Butylparaben เป็นวัตถุกันเสีย ซึ่งส่งผลทำให้ปะการังฟอกขาวโดยตรง

อยากใช้ Reef-Safe Sunscreen มีตัวไหนแนะนำบ้าง

การเลือกใช้ “ครีมกันแดดไม่ทำร้ายปะการัง” ไม่เพียงบ่งบอกว่าคุณเป็นคนรักผิว ใส่ใจสุขภาพตัวเอง แต่ยังแสดงถึงความใส่ใจและความรักที่คุณเผื่อแผ่ไปยังโลกใบนี้ด้วย สิ่งนี้คือจุดเริ่มต้นเล็ก ๆ ที่คุณทำเพื่อโลกและสิ่งแวดล้อมได้ทันที และทำได้ง่ายที่สุดจากผลิตภัณฑ์ที่คุณต้องใช้เป็นประจำทุกวันอยู่แล้ว เรามีครีมกันแดดดี ๆ มาแนะนำ 4 ตัว การันตีว่าปราศจากสารเคมีทำร้ายปะการังแน่นอน แถมยังมีประสิทธิภาพการปกป้องผิวจากรังสี UVA, UVB, แสงสีฟ้า และมลภาวะแบบสูงสุด SPF50+ PA++++ มาพร้อมสารบำรุงผิวจากธรรมชาติคุณภาพดีทุกตัว

reef-safe sunscreen

1.The 28 Protection UV Cut Aqua Sunscreen SPF50+ PA++++

โลชั่นกันแดดน้ำนม เนื้อบางเบา ซึมไว ไม่เหนอะ ช่วยคุมมัน มีส่วนผสมจากพืชธรรมชาติหลากหลายชนิด บำรุงผิวดูชุ่มชื้น กระจ่างใส อ่อนเยาว์ ต้านการเกิดริ้วรอย ไม่ก่อการระคายเคืองผิว

สารกันแดดที่เลือกใช้

- Ethylhexyl Triazone

- DHHB

- Tinosorb M

reef-safe sunscreen

2.JUV Everyday Whitening Face & Body Serum Sunscreen SPF50+ PA++++

บอดี้เซรั่มกันแดด นวัตกรรมกันแดดทาตัวเนื้อบางเบา ไม่เหนอะหนะผิว มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ละมุนผิว หลังกันแดดเซตตัวไม่เลอะเสื้อ ไม่ทิ้งคราบขาว ช่วยบำรุงผิวชุ่มชื้น ฟื้นบำรุงให้ผิวกายดูกระจ่างใส 

สารกันแดดที่เลือกใช้

- Octocrylene

- Ethylhexyl Salicylate

- Avobenzone

- Titanium Dioxide

reef-safe sunscreen

3.SKIN1004 HYALU-CICA Water-Fit Sun Serum SPF50+ PA++++

เซรั่มกันแดดไฮยา นำเข้าจากประเทศเกาหลีใต้ ที่มีส่วนผสมหลักจากไฮยาลูรอนผสานสารสกัดใบบัวบก เป็นกันแดดเนื้อเซรั่มบางเบา ช่วยเติมผิวฉ่ำโกลว บำรุงผิวอิ่มน้ำ ลดผิวแห้งกร้าน กลุ่มผิวแพ้ง่ายใช้ได้

สารกันแดดที่เลือกใช้

- DHHB

- Ethylhexyl Triazone

- Tinosorb M

- Uvasorb HEB

reef-safe sunscreen

4. Beauty of Joseon Relief Sun : Rice + Probiotics SPF50+ PA++++

ครีมกันแดดข้าว ตัวดังจากเกาหลีใต้ เนื้อบางเบา ซึมไว สบายผิว เสริมโพรไบโอติก เน้นการบำรุงผิวชุ่มชื้น ปลอบประโลมผิวแข็งแรง

สารกันแดดที่เลือกใช้

- DHHB

- Ethylhexyl Triazone

- Tinosorb M

- Uvasorb HEB

เลือกใช้ “กันแดดไม่ทำร้ายประการัง” ดียังไง อ่านบทความนี้จบแล้ว เชื่อว่าคุณน่าจะได้รับคำตอบในใจแล้ว และถ้าอยากเริ่มต้นรักผิวรักโลกไปด้วยกันตอนนี้เลย สามารถเลือกครีมกันแดดที่เราหยิบมาแนะนำข้างบนได้เลยนะคะ 

close

Wishlist